MUSICIAN'S DIARY
Comunicate through Notation
BY EACH OTHER
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สัตว์สังคมอย่างมนุษย์เราได้มีการตอบโต้การกระทำต่างๆร่วมกัน ทั้งเพื่อความจำเป็นในการอยู่รอด เป็นกิจกรรมนันทนาการในแต่ล่ะวัน และเป็นปัจจัยในการดำเนินชีวิต ทำให้คนเราพยาพยามที่จะคิดค้นระบบที่สามารถใช้เป็นตัวแปลเพื่อให้ความคิดที่กระจัดกระจายไปในแต่ล่ะผู้คนนั้น สามารถกลับมาเข้าใจซึ่งกันและกันได้
COMMUNICATION
สื่อ ให้เข้าใจ สาร
จากความพยายามอย่างตั้งใจเพื่อให้เพื่อนร่วมสปีชีส์เดียวกันสามารถเข้าใจสารของเราได้ ก็ทำให้เกิดเป็นการสื่อสารขึ้นซึ่งจะมีตั้งแต่การแสดงท่าท่างการใช้น้ำเสียงกับโทนเสียง การใช้คำสื่อความหมายและการจดบันทึกสารต่างๆเพื่อเก็บรักษาใว้สื่อให้ผู้คนรุ่นต่อๆไป ชนิดต่างๆของการสื่อสารเหล่านี้พัฒนาขึ้นมาตามความซับซ้อนของสื่อที่ค่อยๆเพิ่มมากขึ้นตามการเวลา
การสื่อสารในโลกของนักดนตรีก็เริ่มต้นมาจากพื้นฐานเดียวกัน เช่นเริ่มจากการแสดงท่าทางที่เป็นจังหวะ มาเป็นการใช้เสียงร้อง การผลิตเสียงออกมาจากเค รื่องมือ จนถึงการนำความซับซ้อนเหล่านั้นมาจดบันทึกตามลักษณะความเหมาะสมของประเภทเสียง ทำให้เกิดเป็นการ Notation ชนิดต่างๆขึ้น
ALVIN LUCIER:
I AM SITTING IN A ROOM (1969)
Score :
"I am sitting in a room different from the one you are in now. I am recording the sound of my speaking voice, and I am going to play it back into the room again and again, until the resonant frequencies of the room reinforce themselves, so that any semblance of my speech, with perhaps the exception of rhythm, is destroyed. What you will hear, then, are the natural resonant frequencies of the room, articulated by speech. I regard this activity not so much as a demonstration of a physical fact, but more as a way to smooth out any irregularities my speech might have."
I am Sitting in a Room
เป็นผลงานการประพันธ์ของนักประพันธ์ชาวอเมริกัน Alvin Lucier ซึ่งบทเพลงนี้ Lucier อัดเสียงตัวเองพูดใส่ไมค์ในห้องหนึ่ง แล้วเปิดวนซ้ำเพื่ออัดเสียงนั้นใหม่ เพื่อเน้นคลื่นความถี่ธรรมชาติของห้องนั้นให้ซ้อนกันเรื่อยๆในระหว่างการอัดซ้ำ จนสุดท้ายความถี่ก็ซ้อนกันจนทำให้พูดนั้นจางลงไปจนเหลือเพียงของห้อง งานชิ้นนี้เป็นผลงาน Abstract ที่สื่อสารความสามารถตามธรรมชาติของเสียง
Score ของบทเพลงนี้เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจในเรื่องของการใช้ประโยคข้อความมาแทนที่โน๊ตเพลง ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งผลงานที่แสดงให้เห็นถึงความต้องการของตัวนักประพันธ์ที่สรรค์หาการจดบันทึกโน๊ตที่เหมาะสมที่สุดเพื่อใช้ในการถ่ายทอดความคิดของเขา
KAPUSTIN - BIG BAND SOUNDS OP. 46
Big band sounds op. 46 เป็นหนึ่งในบทเพลงที่ถูกประพันธ์ในสไตล์ Jazz ซึ่งมักจะถูกจดบันทึกในรูปแบบ Nashville number system แต่ทว่า Kapustin ที่เป็นเจ้าของผลงานชิ้นนี้ได้เลือกใช้วิธีจดบันทึกแบบ 5 Staff Notation แทนเพราะว่าตัว Kapustin ต้องการที่จะหยิบยืมเพียงสำนวนภาษาของดนตรี Jazz มาเท่านั้น ส่วนในเรื่องของการแสดง Kapustin ตั้งใจที่จะให้นักดนตรีบรรเลงบทเพลงนี้อยู่ในแบบที่ตัวเขาเองได้สร้างสรรค์จังหวะทำนองมาอย่างลงตัวแล้ว ก็เลยเป็นเหตุผลให้เลือกใช้การ Notated แบบ 5 staff Notation เพื่อที่จะได้เก็บรักษาผลงานการ Improvisation ของผู้ประพันธใว้อย่างสมบูรณ์ที่สุด